เมนู

ครอบงำจิตที่มีอวิชชาได้ จิตที่ครอบงำอวิชชาก็เป็นอย่างหนึ่ง จิตที่ครอบงำ
ชีวิตนทรีย์ก็เป็นอย่างหนึ่ง. สีสะทั้งสองอย่างนี้ของบุคคลใด ถึงความสิ้นไป
พร้อม ๆ กัน บุคคลนั้นจึงชื่อว่า ชีวิตสมสีสี.
ถามว่า สีสะทั้ง 2 อย่างนี้ มีพร้อม ๆ กันได้อย่างไร ?
ตอบว่า เพราะมีพร้อม ๆ กันได้ด้วยวาระ. อธิบายว่า การออกจาก
มรรคย่อมมีในวาระใด วาระนั้นชื่อว่ามีพร้อม ๆ กัน คือว่า บุคคลใดตั้งอยู่
ในปัจจเวกขณญาณ 19 อย่าง คือ ปัจจเวกขณะในโสดาปัตติมรรค 5 อย่าง
ในสกทามิมรรค 5 อย่าง ในอนาคามิมรรค 5 อย่าง ในอรหัตตมรรค 4
อย่าง แล้วหยั่งลงสู่ภวังค์ จึงปรินิพพาน ความสิ้นไปแห่งสีสะทั้งสองอย่างนี้
จึงชื่อว่าพร้อม ๆ กัน เพราะความพร้อม ๆ กันด้วยวาระเหล่านั้น เพราะฉะนั้น
บุคคลนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ชีวิตสมสีสี. ก็บุคคลนี้เท่านั้น พระผู้
มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาในสมสีสีนิเทศนี้.
จบอรรถกถาสมสีสีบุคคล

[33]

ฐิตกัปปีบุคคล

บุคคลผู้ชื่อว่า ฐิตกัปปี เป็นไฉน ?

บุคคลนี้ พึงเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล และเวลาที่
กัปไหม้จะพึงมี กัปก็ไม่พึงไหม้ตราบเท่าที่บุคคลนี้ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดา-
ปัตติผล บุคคลนี้เรียกว่า ฐิตกัปปี. บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรคแม้ทั้งหมด
ชื่อว่า ฐิตกปฺปี ผู้มีกัปตั้งอยู่แล้ว.

อรรถกถาฐิตกัปปีบุคคล


วินิจฉัยในนิเทศแห่ง ฐิตกัปปีบุคคล. 1กัปตั้งอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า
ฐิตกปฺโป. กัปตั้งอยู่ของบุคคลนั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า
ฐิตกปฺโป แปลว่า ผู้มีกัปอันตั้งอยู่. อธิบายว่า เป็นผู้สามารถ เพื่อจะให้กัป
ดำรงอยู่ได้.
คำว่า ฑยฺหนเวลา อสฺสาติ ฌายนกาโล ภเวยย เวลาเป็นที่.
ไหม้ของกัปนั้นมีอยู่ เพราะฉะนั้น กัปนั้น จึงชื่อว่า ฌายนกาโล แปลว่า มีกาล
เป็นที่ไหม้. คำว่า "เนว ตาว" ความว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยมรรคนี้
(มคฺคสมงฺคีปุคฺคโล) ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งพระโสดาปัตติผลเพียงใด กัปก็ยัง
ไม่ถูกไฟไหม้เพียงนั้น แม้กัปกำลังไหม้อยู่ ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยมรรคนั้น
ไม่ไหม้เลย พึงดำรงอยู่ได้. จริงอยู่ขึ้นชื่อว่ากัปวินาศเป็นวิกาลใหญ่ เป็น
มหาปโยคะ เป็นมหาโลกวินาศ ด้วยสามารถแห่งการไหม้ตลอดแสนโกฏิจักรวาล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มหาวินาศนี้ พึงปรากฏอยู่อย่างนี้ทีเดียว แต่เมื่อพระ
ศาสนายังทรงอยู่ ชื่อว่า กัปวินาศก็ยังไม่มี ทั้งศาสนาก็ย่อมไม่มีในเวลาที่กัปพินาศ.
แต่ชื่อว่ากัปวินาศ ย่อมมีในเวลาอันถึงที่สุดแล้ว. แม้เมื่อความเป็นอย่างนั้น

1. มหากัปหนึ่ง มีอายุเท่ากับ 256 อันตรกัป
อสังขัยกัปหนึ่ง เท่ากับ 1 ใน 4 ของมหากัป. ท่านแบ่งมหากัปออกเป็น 4 ภาค คือ
ก. สังวัฏฏอสังขัยกัป ได้แก่ โลกที่กำลังถูกทำลาย ข. สังวัฏฏฐายีอสังชัยกัป ได้แก่ โลกที่ถูก
ทำลายเสร็จแล้ว ค. วิวัฏฏอสังขัยกัป ได้แก่ โลกที่กำลังก่อสร้าง ฆ. วิรัฏฎฐายีอสังขัยกัป ได้
แก่ โลกที่สร้างเสร็จแล้ว
อันตรกัป ได้แก่ ระยะเวลาที่ท่านประมาณไว้ดังนี้ คือ เมื่อมนุษย์มีอายุอยู่ถึง 1 อสังขัยปี
แล้วก็ลดลงนา คือ ร้อยปีลดหนึ่งปี จนถึง 10 ปี และกลับทับทวีเพิ่มขึ้นไปทุกชั่วระยะชีวิต จนถึง
1 อสังขัยปีอีก จึงนับเป็นอันตรกัปหนึ่ง 64 อันตรกัปจึงเป็นอสังขัยกัปหนึ่ง. อนึ่ง ขัยอายุของ
มนุษย์ที่ลดลงและเพิ่มขึ้นระยะนั้น เรียกว่า อายุกัป.